แนะนำการเรียนกรีนพื้นฐานเบื้องต้น
Basic Screen Print
เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานหรือผู้เริ่มต้นในการทำงานสกรีน รวมทั้งการออกแบบ จัดการไฟล์ภาพเพื่อนำมาแยกสี หรือการแยก Layer และนำแบบมาขึ้นบล็อกสกรีน การเรียนการสอนถูกออกแบบมาให้ผู้เรียนที่ไม่มีพื้นฐานหรือผู้เริ่มต้น มีความรู้ความเข้าใจ ในทุกขั้นตอนของการทำงานสกรีนประเภทต่างๆ ในระบบ โรงงานขนาดเล็ก และโรงงานขนาดกลาง (SME) รวมถึงการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และสารเคมีต่างๆ ให้เหมาะสมกับขนาดการลงทุนของผู้เริ่มทำงานสกรีน
ระยะเวลาการเรียน 2 วัน
เนื้อหาแบ่งออกเป็น 20% ภาคทฤษฎี – 80% ภาคปฏิบัติ ในส่วนของ 20 % นั้น เรียนรู้ไอเดียงานพิพม์ การแยกสี การใช้โปรแกรม และงานสกรีนต่างๆที่ผู้เรียนสามารถนำไปปรับใช้ได้ในประเภทต่างๆ เช่น การสกรีน แก้ว(วัตถุทรงโค้ง) ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ การสกรีนลงบนถุงพลาสติก ฯลฯ รวมถึงเทคนิคการทำงานต่างๆ และการจำแนกประเภทงานในการสกรีนเสื้อ เช่น การสกรีนด้วยสีจม สีนูน สียาง สีลอย สีมุกทอง ฟอลย์ กากเพชร สีดิชชาร์ต สีกัด (Discharge) สีพลาติซอล (Plastisol) สีPVC การสกรีนงานภาพเหมือนระบบ CMYK การสกรีนงานแบบฮาฟโทน (Halftone) รวมถึงสารเคมีและอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในงานสกรีน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและแก้ปัญหาในเรื่องของสารเคมี เมื่อมีปัญหาในการทำงานจำพวกสี และกาวอัดบล็อคสกรีน
80% ที่เหลือเน้นงานปฎิบัติ การเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ในงานสกรีน การขึงบล็อคสกรีน การเลือกเบอร์ผ้าสกรีนการนำบล็อคเก่ามาใช้ใหม่ การขึ้นลาย การทำบล็อคสกรีนหลายสี รวมถึงการผสมสีและน้ำยาประเภทต่างๆ เน้นให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ และการทำงานที่จะทำให้เกิดปัญหาระหว่างการทำงาน เพื่อที่นักเรียนเมื่อจบออกไปแล้วสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้เมื่อเรียนจบ
ตัวอย่างและรายละเอียดการเรียนการสอน คลิ้ก >>> Basic Screen Print Workshop เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้ >>>
Advance Workshop
ระยะเวลาการเรียน 4 วัน (เหมาะสำหรับผู้ต้องการเรียนเพิ่มเติมจากขั้นพื้นฐาน) คลาสเน้นการปฎิบัติต่อยอดจากขั้นพื้นฐาน เรียนรู้และปฎิบัติเพิ่มเติม เทคนิคงานสกรีนต่างๆบนผืนผ้า เช่น เทคนิคงานฟอลย์ เทคนิคงานกำมะหยี่ เทคนิคสีนูน เทคนิคสีจม การทำงานด้วยสีพลาสติซอล รวมถึงการทดลองสารเคมีชนิดต่างๆ ในท้องตลาด เพื่อนำมาเปรียบเทียบ และนำมาปรับสภาพใช้งานให้ได้ความเหมาะสมต่อผู้ใช้งาน
ตัวอย่างและรายละเอียดการเรียนการสอน คลิ้ก >>> Advance Workshop เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้ >>>
Halftone Workshop
การทำงานประเภทนี้คนส่วนใหญ่เรียกว่างานเม็ด งานเม็ดจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทแบ่งออกเป็นงานประเภท Halftone และ CMYK การทำงานทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างในด้านของการทำแบบ และการแยกสี องศาในการทำงานของภาพ ขนาดและรูปทรงของเม็ดสกรีน การทำงานเทคนิคนี้สามารภทำได้ทุกประเภทสี แต่เนื่องจากงานชนิดนี้มีความละเอียดสูงในด้านการพิพม์งาน จึงมักทำงานได้ลำบาก ประกอบกับการผลิตชิ้นงานทำงานได้ไม่ต่อเนื่อง ถ้าผู้สกรีนเลือกสีประเภทเชื้อน้ำ สีที่ทำงานประเภทนี้ควรเป็นสีพลาสติซอล (Plastisol) เหมาสำหรับการทำงานที่มีรายละเอียดสูง เช่น งาน Halftone และ งาน CMYK
ตัวอย่างและรายละเอียดการเรียนการสอน คลิ้ก >>> Halftone Workshop เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้ >>>
Illustrate Workshop
ในส่วนของชั้้นเรียนการออกแบบ เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น หรือเคยผ่านการใช้งานด้านโปรแกรม Illustrator มาบ้างเล็กน้อย เนื่องจากในโปรแกรม มีอุปกรณ์ และเทคนิคการใช้งานที่หลากหลาย ทางผู้สอนจะเน้นไปทางด้านเครื่องมือการทำงาน และเทคนิคต่างๆในการสร้างชิ้นงาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถไปฝึกฝนและเพิ่มเติมเองได้ โดยผู้สอนจะมีแบบฝึกหัดให้ และลงมือทำด้วยกันทีละขั้นตอน เช่น การดราฟงาน(การลอกลาย) การใส่แสงและเงา การทำโลโก้แบบ 2 และ 3 มิติ ฯลฯ
แบบฝึกหัดและรายละเอียดการเรียนการสอน คลิ้ก >>> Illustrate Workshop เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้ >>>